วิสัยทัศน์หลัก

วิสัยทัศน์หลัก :  เพื่อนําประสบการณ์การเรียนรู้ไปใช้ในการดํารงชีวิตที่มีคุณภาพ อย่างมีเกียรติ และมีความหมายต่อตนเองและสังคมโลก

            การจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาบนพื้นฐานของวิทยาการคำนวณ (STE@M base on Computing Science) เป็นการจัดการเรียนการสอน สำหรับระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เน้นการเรียนรู้เชิงบูรณาการ หรือสหศาสตร์ ประกอบด้วย วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) คณิตศาสตร์ (Mathematics) และเพิ่มเติมหลักการของศิลปะ (Art) ทั้งนี้ได้ใช้สัญลักษณ์ @ แทน A เพื่อไม่ให้ออกเสียง A เข้ามาร่วมใช้ในการเรียนการสอน

รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้

รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ STE@M Education ผ่านกิจกรรมที่สนุกสนานและท้าทายกับปัญหาต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิด แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน และเป็นระบบ มีทักษะการคิดเชิงคำนวณ การออกแบบและสร้างบางสิ่งบางอย่างเพื่อแก้ปัญหานั้น ซึ่งการเรียนรู้ไม่จำกัดว่าต้องเรียนในห้องเรียนกับคุณครูในโรงเรียนเท่านั้น ผู้ปกครองก็นับว่าเป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่มีส่วนช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบ STE@M Education โดยร่วมส่งเสริมการเรียนรู้แบบ STE@M กับโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษา นอกจากนั้นบุคคลในวงวิชาชีพต่าง ๆ เช่น วิศวกร แพทย์ นักเทคโนโลยี นักการตลาด ฯลฯ สามารถนำประสบการณ์ตรงในโลกแห่งการทำงานจริงถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้เกิดความรู้ ทักษะการคิด เชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้กลุ่มย่อย โครงงาน โดยการค้นคว้า พิจารณาคิดกรอง สรุปสาระสำคัญ รวมทั้งใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและปลอดภัย กระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างแนวคิด ผลงานอย่างสร้างสรรค์ นำไปสู่การเป็นผู้สร้างนวัตกรรมอย่างมีศีลธรรม เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพในยุคศตวรรษที่ 21 ได้อย่างแท้จริง

การจัดการเรียนรู้แบบ x-based learning (XBL) เป็นการเรียกขานรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีบาง อย่าง (x) เป็นพื้นฐาน และมักมีการเรียกเป็นชื่อย่อ เช่น PBL (Project-based Learning: การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน), IBL (Inquiry-based Learning: การเรียนรู้แบบสืบเสาะเป็นฐาน) และ CBL (Challenge-based Learning : การเรียนรู้โดยใช้ความท้าทายเป็นฐาน) เป็นต้น

การวัดและประเมินผล

การวัดและประเมินผลสมรรถนะด้านคิดเชิงคำนวณ (Computational thinking) มีความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital technology) และความรู้พื้นฐานด้านรู้เท่าทันสื่อและข่าวสาร (Media and information literacy) เน้นกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์เพื่อนำไปแก้ปัญหาของมนุษย์ โดยประยุกต์การใช้ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์สื่อดิจิทัลเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการแก้ปัญหาจริง การทะงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ต่อตนเองหรือสังคม และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างปลอดภัย รู้เท่าทัน มีความรับผิดชอบมีจริยธรรม ซึ่งจะสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สาระที่ 4 เทคโนโลยี มาตรฐานที่ ว 4.1 เข้าใจแนวคิดหลักของเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ใช้ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสาระสนเทศการสื่อสารในการเรียนรู้การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม

ภาพรวมของหลักสูตร

ภาพรวมของหลักสูตร STE@M Education มุ่งหวังให้ผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต ได้ค้นพบตัวเองจากประสบการณ์การเรียน และได้พัฒนาทักษะต่างๆ ที่กําหนดไว้ในหลักสูตร

กลุ่มความรู้

วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศิลปศาสตร์

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร และทักษะการนําเสนอ

หลักการนําหลักสูตรลงสู่ระดับปฏิบัติ

ผู้เรียน : รับผิดชอบการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะของตนเอง
ครู : ผู้ช่วยขั้นตอนการเรียนรู้ แเละการพัฒนาทักษะตามระดับความสามารถของผู้เรียน
ผู้บริหาร : กําหนดกรอบนโยบายสถานศึกษาและส่งเสริมการพัฒนาการเรียนรู้แบบสเต็มอย่างต่อเนื่อง ผู้ปกครอง: สนับสนุนการเรียนรู้บูรณาการร่วมกันระหว่างบ้านกับโรงเรียนหลักสูตรประถมศึกษาปีที่ 1-3

Message us