โครงการอบรม One Teacher One Innovation โดย คณะผู้บริหารโรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์

ที่มาและความสำคัญของโครงการ

การยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้ได้มาตรฐานสูงขึ้นนั้น ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของการบริหารจัดการ โดยสร้างความตระหนัก และความรับผิดชอบต่อนโยบาย เป้าหมาย และมาตรฐานการศึกษา รวมทั้งการสร้างวัฒนธรรม และค่านิยม ที่มุ่งเน้นคุณภาพ และการมีวิสัยทัศน์ร่วม อันจะนำไปสู่ความสำเร็จที่มีต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา และพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และเป็นต้นแบบขององค์กรที่มีสมรรถนะสูง สามารถขับเคลื่อนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ผู้เรียนได้รับโอกาส เข้าถึงการเรียนรู้ที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง และเสมอภาค สามารถขับเคลื่อนผลสัมฤทธิ์การเรียนให้สู่เป้าหมายได้แท้จริง อีกทั้งเพื่อสร้างความเข้มแข็งของระบบประกันคุณภาพ และประกันโอกาสทางการศึกษา สร้างความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายทางการศึกษา แสวงหาความร่วมมือ และสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างหลากหลาย ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาส่งเสริมสนับสนุนให้มีศักยภาพสูง มีความก้าวหน้าในวิชาชีพ มีคุณภาพ พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาให้มีความหลากหลายสามารถสนองความต้องการที่แตกต่างระหว่างบุคคล

จากความคาดหวังดังกล่าว จึงเป็นสิ่งที่ต้องตอบสนองภายใต้สภาพของการสร้างสังคมที่เปลี่ยนไป การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบนวัตกรรมทางการศึกษาที่จะนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาทางด้านการศึกษาในบางประเด็น เพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารการศึกษาให้เทียบเท่าระดับสากลการ พัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยการผลิต และพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษา เพื่อรองรับการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ ๆ ที่จะตอบสนองการเรียนรู้ของผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความมั่นใจ และส่งเสริมให้เกิดศักยภาพทาง ด้านงานวิชาการ จึงได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อยกระดับคุณภาพของสถานศึกษาผ่านกิจกรรม one teacher one innovation ขึ้น

วัตถุประสงค์โครงการ

มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในความสำคัญของการออกแบบนวัตกรรมทางการศึกษา

2. เพื่อยกระดับความสามารถในการออกแบบนวัตกรรมทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษา

ระยะเวลาการดำเนินการ

ทั้งนี้หลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการ one teacher one innovation จะแบ่งการอบรมออกเป็นห้าระยะคือ ระยะที่หนึ่งจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2565 เป็นการรับฟังบรรยายพิเศษ จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ รองศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์ ชุติมา มุสิกกานนท์ คณบดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์ นพดลพันธุ์ พาณิชย์ นายกสมาคมนวัตกรรมภาคอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และการอบรมเชิงปฏิบัติการจากวิทยากร ด็อกเตอร์ เดทกุล มัทวานุกูล และ ด็อกเตอร์ ปทิตตา ปิยสกุลเสวี ระยะที่สอง ในวันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2565 คือ แนวทางการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา ระยะที่สาม ระหว่างวันที่ 7 ถึง 25 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2565 คือ คลินิกสายด่วนเพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมทางการศึกษาจากทีมที่ปรึกษา ระยะที่สี่ ในวันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2565 คือ การนำเสนอผลงานนวัตกรรมสร้างสรรค์ และระยะที่ 5 พิธีประกาศรางวัลนวัตกรรมด้านการศึกษาดีเด่น ประเภทผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 2 เมษายน พุทธศักราช 2565

คลิกเพื่อลงทะเบียนเพื่อการออกเกียรติบัตร

คลิกเพื่อดาวน์โหลดเอกสารประกอบการสัมมนา

Message us