รู้จักกับอาชีพผู้สร้างนวัตกรรม

Innovation = Creative + New + Value Creation

(ความคิดสร้างสรรค์ + สิ่งใหม่ + มีคุณค่า)

หลายคนมี Mindset เกี่ยวกับนวัตกรรมว่า  นวัตกรรมเป็นเรื่องยาก เป็นเรื่องของคนเก่ง เป็นหน้าที่ของฝ่าย R&D เป็นกลยุทธ์ของผู้บริหาร หรือคิดว่านวัตกรรมต้องเป็นแบบเรื่องใหม่ๆที่พลิกโลก ออกมาคนต้องตื่นเต้นฮือฮาไปทั้งประเทศ ทั้งโลกแบบ ไอโฟน Apple เป็นต้น   ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดไปอย่างมาก  

คำว่า นวัตกรรมมีการให้ความหมายไว้มากมาย  ตัวอย่างเช่น

  • พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พศ.2542 ได้ให้คำนิยามคำว่า “นวัตกรรม” ไว้ว่า สิ่งที่ทำขึ้นใหม่ หรือแปลกจากเดิม ซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการหรืออุปกรณ์เป็นต้น
  • Peter F. Drucker ได้ให้คำนิยามคำว่า “นวัตกรรม” ไว้ว่า เป็นเครื่องมือเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการในการสร้างผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เพื่อสร้างธุรกิจและบริการที่แตกต่างและสร้างรายได้
  • สตีฟ จ๊อฟ์ ได้ระบุว่า นวัตกรรมเป็นสิ่งที่แยกระหว่างผู้นำกับผู้ตาม
  • Rogers กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม คือ ความคิด การปฏิบัติ หรือเป็นสิ่งใหม่
  • สำนักนวัตกรรมแห่งชาติ ได้ให้คำนิยามคำว่า “นวัตกรรม” ไว้ว่า สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม  

สรุปคือ “นวัตกรรม (Innovation)”  เป็นการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาหรือประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ เช่น บริการ ผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการใหม่ๆ (Service, Product, Process) เป็นต้น ที่มีคุณค่า(Value Creation) และมีประโยชน์ต่อผู้อื่น เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเมื่อมีคุณค่าและมีประโยชน์แล้วจะสามารถขยายผลต่อได้เชิงพาณิชย์ หรือ ในเชิงการให้ความรู้ทางด้านการศึกษา

แต่มีข้อสังเกตุ “นวัตกรรม (Innovation)”  ไม่ได้มีเพียงในรูปแบบของเทคโนโลยีเท่านั้น

ในทุกๆวงการ ได้นำนวัตกรรมหลากหลายรูปแบบมาใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็น รูปแบบของ เครื่องมือ อำนวยความสะดวก และ ในรูปแบบของการจัดการ โดยจะมีทั้งที่เป็นแบบ. IT. และ. NON. IT

และถ้าจะกล่าวถึง วงการการศึกษา ที่ได้มีการพัฒนาวงการด้วย นวัตกรรม มาโดยตลอด จำแนกประเภท ดังนี้

ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา      นวัตกรรมที่นำมาใช้ทั้งที่ผ่านมาแล้ว  และที่จะมีในอนาคตมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในด้านต่างๆ  ซึ่งจะขอแนะนำนวัตกรรมการศึกษา  5 ประเภทดังนี้


1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร  เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น  และตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น  เนื่องจากหลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ  เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก  นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรได้แก่  การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการ  หลักสูตรรายบุคคล  หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์   และหลักสูตรท้องถิ่น     

 2. นวัตกรรมการเรียนการสอน  เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล  การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  การเรียนแบบมีส่วนร่วม  การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา  การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน     

 3. นวัตกรรมสื่อการสอน    เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์    คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยีโทรคมนาคม     ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย  ทั้งการเรียนด้วยตนเอง การเรียนเป็นกลุ่ม และการเรียนแบบมวลชน  ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์


4. นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล  เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และทำได้อย่างรวดเร็ว  รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา  การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล  ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์


5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ  เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ   เพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษา   ให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์  ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา  (https://www.l3nr.org/posts/224964)        

 เครดิต : www.sasimasuk.com  

 

Message us