STE@M นอกห้องเรียน

การจัดกิจกรรมประสบการณ์การเรียนรู้ STE@M นอกห้องเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา 1-3 ในหลักสูตร STE@M Education

(A STUDY OF OUT-OF-CLASS STE@M LEARNING ACTIVITIES OF PRIMARY SCHOOL STUDENTS IN STE@M EDUCATION)

[siteorigin_widget class=”SiteOrigin_Widget_Image_Widget”][/siteorigin_widget]

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ STE@M Education ได้ยึดศาสตร์และศิลป์ของสหวิชาทั้ง 5 คือ “มองทุกอย่างให้เป็นวิทยาศาสตร์ หารูปแบบและความสัมพันธ์ เลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา และใช้กระบวนการทางวิทศวกรรมในการทำภาระงานภายใต้เงื่อนและข้อจำกัด มีศิลปะในการถ่ายทอดแนวคิดเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย” ทั้งนี้รูปแบบของกิจกรรมต้องสร้างความท้าทายให้แก่ผู้เรียน เพราะผู้เรียนในวัยประถมศึกษาตอนต้น จะเต็มไปด้วยสัญชาตญาณของนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็คือ ความอยากรู้อยากเห็น ผู้เรียนจะมีความสงสัยใคร่รู้ในทุกสิ่งรอบตัว มักตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งใหม่ๆ ที่พบเจอ และสนุกกับการค้นหาคำตอบ ดังนั้นอย่าจำกัดว่าการเรียนการสอนเป็นเรื่องจริงจังและจำกัดไว้เพียงแค่ในชั้นเรียนเท่านั้น แต่หันมาออกแบบกระบวนการที่ทำให้เกิดประสบการณ์ในเรียนรู้แบบง่ายๆ เพียงแค่มองไปรอบๆ นอกห้องเรียน

กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมประสบการณ์ตรงเพื่อให้ผู้เรียนได้โอกาสสัมผัสกับแหล่งเรียนรู้จริง เกิดการเรียนรู้ที่ดีมีประสิทธิภาพมากที่สุด กระตุ้นความสนใจใฝ่รู้ในเรื่งรอบตัว ผ่านกิจกรรมที่ทำง่ายแต่มีคุณค่าในการขยายขอบข่ายของความคิด ความรู้ และเพิ่มพูนทักษะของผู้เรียนกับการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการมอง สังเกต สัมผัส ได้ยิน ได้เห็น ได้กลิ่น เป็นการเรียนที่มีชีวิตชีวาเต็มไปด้วยความกระตือรือร้นของผู้เรียน ครูผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมได้ง่ายเนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่างภายในสภาพแวดล้อมของโรงเรียนล้วนมีความหมาย และก่อให้เกิดความรู้ได้ทั้งสิ้น ครูผู้สอนมีหน้าที่บทบาทในการให้คำแนะนำสอนวิธีที่จะแสวงหาความรู้ แสวงหาคำตอบด้วยตนเอง

เหตุผลของการจัดกิจกรรมประสบการณ์การเรียนรู้ STE@M นอกห้องเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา 1-3 ในหลักสูตร STE@M Education

  1. เพื่อกระตุ้นความอยากรู้ อยากเห็น เป็นการนำผู้เรียนให้สนใจสิ่งใหม่
  2. เพื่อเพิ่มความสนใจในสิ่งที่เรียน เพราะผู้เรียนได้เรียนรู้จากของจริง
  3. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการตั้งคำถามที่หลากหลาย เกิดความเข้าใจในสิ่งที่สงสัยในทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวล้วนเป็นสิ่งที่น่าศึกษาและอยากศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
  4. เพื่อฝึกฝังให้ผู้เรียนเป็นนักสำรวจ ฝึกการสังเกต และจดบันทึก
  5. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความชื่นชมต่อธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
  6. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและสามารถแปลผลจากสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวได้ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
  7. เป็นแนวทางการศึกษาหาความรู้ ของตนเองต่อไปในอนาคต

ผลที่ผู้เรียนได้รับ

  1. ผู้เรียนเห็นคุณค่าของความร่วมมือภายในกลุ่มการมีส่วนร่วมในการทำงาน แก้ปัญหา เสนอความคิดเห็นร่วมกัน ประเมินผลของกิจกรรมที่ได้ดำเนินไปตามแผน
  2. ผู้เรียนและครูผู้สอนได้เรียนรู้สิ่งใหม่ร่วมกัน
  3. ผู้เรียนมีความตระหนักถึงคุณค่าของสภาพแวดล้อมในโรงเรียน
  4. ผู้เรียนสนุกสนานกับการเปลี่ยนบรรยากาศการเรียน ลดความเครียดในห้องเรียน
  5. ผู้เรียนได้ฝึกระเบียบวินัย
  6. ผู้เรียนได้ฝึกการถ่ายทอดประสบการณ์จากสิ่งที่เห็น
  7. ผู้เรียนได้ศึกษาความรู้อย่างอิสระตามความถนัดและความสนใจ ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

ไม่มีห้องเรียนไหน ที่กว้างไหญ่และสนุกสนานเท่ากับ ห้องเรียน OUTDOOR อีกแล้ว และยังส่งเสริมให้ผู้เรียนจดจ่ออยู่กับกิจกรรมได้นานนับ 100 นาที

Message us